วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาษากับวัฒนธรรม

ภาษากับวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคมวัฒนธรรม หมายถึง ขนบธรรมเนียมพิธีกรรมต่างๆ ศิลปะ การละเล่น อุปนิสัยเช่น ประเพณี
ความสัมพันธ์ของภาษากับวัฒนธรรม
ภาษาของชนชาติจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้น สะท้อนให้เห็นดังนี้ภาษาไทยก็เช่นกันภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่นิยมความประณีต
๑. ไม่เพียงใช้คำให้ตรงกับความหมายแล้วแต่ยังใช้ให้ละเมียดละไมในการใช้ภาษา ถูกต้องตามฐานะของบุคคลและเหมาะสมกับความสนิทสนมระหว่างบุคคลกาลเทศะ และระดับภาษาให้เหมาะสมด้วยเนื้อหาและสื่อซึ่งก็คือการใช้คำราชาศัพท์ เห็นได้จากภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมประสมประสาน
๒. มารวมกับภาษาไทยเราการที่ภาษาไทยได้ยืมคำจากภาษาอื่นๆ เราสามารถใช้คำเหล่านี้ได้กลมกลืนกันและเหมาะสมภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็น
๓. วัฒนธรรมที่เจริญด้านศิลปวัฒนธรรมแสดงความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งทัดเทียมชาติตะวันตก
นิยมใช้คำคล้องจองภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
๔. วานิตินิกร เห็นได้จากการตั้งชื่อต่างๆ เช่น ชื่อหนังสือสัมผัสคล้องจองกัน เช่น ไวพจน์พิธาน พิศาลการันต์ คำประพันธ์ทุกถ้อยคำสำนวนในภาษาไทยก็นิยมผูกให้คล้องจองกันอนันตวิภาค ประเภทของไทยมีบังคับสัมผัสคล้องจองแม้คำประพันธ์นั้นจะมาจากภาษาอื่นซึ่ง คำประพันธ์ประเภทฉันท์เช่นไม่บังคับก็ตาม เมื่อรับมาแล้วจึงเพิ่มเสียงสัมผัสให้เข้ากับลักษณะคำประพันธ์ของไทย
ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม ภาษาไทยและประเพณีที่ใช้กันอยู่ในเฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆนั้น มีค่าอย่างยิ่งแก่วัฒนธรรมของชนทั้งชาติ ควรมีการศึกษาและธำรงไว้ไม่ให้สูญสิ้นไปเท่าที่จะทำได้ เพราะประเพณีบางแห่งอาจเป็นเครื่องแสดงที่มาของประเพณีอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งคนยังรักษาไว้โดยไม่เข้าใจ
ภาษาของชุมชนต่างๆนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกันกับภาษาไทย แต่ก็ควรรักษาไว้และศึกษาให้รู้ว่ามีคำไทยเข้าไปปะปนมากน้อยเพียงใด เป็นคำสมันไหน แต่ชนทุกกลุ่มทุกท้องถิ่นก็จำเป็นต้องเรียนภาษาไทยมาตรฐาน เพื่อประโยชน์แก่การสื่อสารกับเพื่อนร่วมชาติทั้งมวล ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และทางสังคม
การธำรงรักษาวัฒนธรรม
นอกจากภาษาจะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาวัฒนธรรมของตนแล้ว ยังช่วยให้มนุษย์ สามารถดำรงและสืบทอดวัฒนธรรมได้อีกด้วย เช่น เราจดบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้ ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ผ่านมาในอดีตเรื่องใดบ้างที่ควรปรับปรุง หากเกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อจรรโลงวัฒนธรรมของเราไว้ เราได้รับทราบความเสียสละ ความเคร่งครัดในวินัย และคุณธรรมต่างๆ โดยอาศัยภาษาเป็นส่วนใหญ่ เราต้องอาศัยภาษาที่ใช้พูดกันในครอบครัว ในหมู่ครูกับลูกศิษย์ อาศัยภาษที่จารึกไว้บนหิน บนใบลาย บนกระดาษ ตลอดจนตำราที่เขียนให้ศึกษาได้ง่าย เพราะมีระบบระเบียบในการลำดับเนื้อหาและการใช้ถ้อยคำเป็นอย่างดี
ถ้าหมู่ชนใดสนใจที่จะรักษาแบบแผนชีวิตของตน หมั่นชี้แจงทำความเข้าใจกับอนุชน ให้เข้าใจในหลักการของบรรพชน วัฒนธรรมหรือแบบแผนชีวิตขิงมนุษย์หมู่นั้นก็จะดำรงอยู่ได้นาน ไม่เปลี่ยนแปลงจนสิ้นสูญรูปแบบ หรือถูกลืมไปจนไม่มีมนุษย์อื่นๆ ได้รู้จักอีก มนุษย์ที่มีความเจริญโดยาก มักนิยมให้มีความเปลี่ยนแปลงโดยพอประมาณ เพราะถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่คงรูปของสถาบันไว้ทุกสถาบัน คงค่านิยมเดิมไว้ทุกอย่าง ก็หมายความว่ามนุษย์หมู่นั้นจะไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ใหม่ที่หาเพิ่มเติม ขึ้นมาได้เลย อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดวัฒนธรรมและการใช้ภาษา ไม่ควรปล่อยให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วจนเกินไป จนคนรุ่นเก่าไม่สามารถสืบทอดประสบการณ์อันมีค่าให้แก่คนรุ่นใหม่ได้
การธำรงรักษามีสามารถทำได้หลายทางดังนี้
๑.การสะสม สามารถทำได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านประเพณี วรรณกรรม ศิลปะ ศีลธรรม คุณธรรม และเทคโนโลยีต่างๆ เป็นการเลือกสะสมสิ่งที่ดีงาม เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และมีการถ่ายทอดเป็นมรดกให้แก่คนรุ่นหลังเพื่อที่จะได้นำไปปฏิบัติ
๒.การสืบต่อทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องของการเรียนรู้จากบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้สิ่งที่ดีจากบรรพบุรุษ
๓.การปรับปรุงและการเผยแผ่วัฒนธรรม ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและเพื่อเผยแผ่
การธำรงรักษาวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุกที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ ธำรงรักษา คือ ภาษา เพราะภาษาจะเป็นสื่อในการทำความเข้าใจและถ่ายทอดวันธรรม ทั้งในด้านของการสะสมและการสืบทอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น